พฤษภาคม 14, 2024

ผลลัพธ์ที่ได้จากประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย เรื่อง     การพัฒนาบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาและดำเนินชีวิต เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็วสามารถเข้าถึงได้ง่าย การสอนโดยการบรรยายแบบเดิมจึงไม่ตอบสนองต่อความสนใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่สนใจบทเรียน ดังนั้น การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเรียนการสอนจึงสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียน พร้อมทั้งควรมีสื่อการเรียนการสอนที่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดสนใจและความเข้าใจอย่างชัดเจนมากขึ้น ในการจัดการเรียนที่จะให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ สามารถประเมินตนเอง ตลอดจนตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้ สอดคล้องกับแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบหนึ่งคือ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่ชัดเจนและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อได้การเรียนรู้ที่ครูผู้สอนต้องการแล้ว เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาจึงต้องสร้างสื่อการเรียนให้สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายและใกล้ตัว

จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องริเริ่มพัฒนาการจัดทำบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างครบถ้วนตรงตามหลักสูตร 

 

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศผู้เรียนเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา

2.2 วิเคราะห์เนื้อหา ออกแบบและจัดทำหน่วยการจัดการเรียนรู้

2.3 ศึกษาและจัดทำบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชัน ร่วมกับการเรียนรู้แบบ

Active Learning วิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์

2.4 นักเรียนทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนแต่ละหน่วย

2.5 นักเรียนทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2.6 สังเกตพฤติกรรมนักเรียน ในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

2.7 นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชัน

ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning

 

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับ ปวช. 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้ศึกษาและเรียนรู้จากบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning  ในรายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ จากการใช้บทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning สูงกว่าค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด (2.00 ขึ้นไป) คิดเป็นร้อยละ 80

 

แบบสรุปประเมินผลการเรียน ภาคเรียนที่ 1/2566 รายละเอียดเพิ่มเติม
ใบสรุปวัดและประเมินผลการเรียนรู้  รายละเอียดเพิ่มเติม

 

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับ ปวช. 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรายวิชาคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์อยู่ในระดับมาก   

แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชัน

รายละเอียดเพิ่มเติม

ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนออนไลน์บนโมบายแอปพลิเคชัน

รายละเอียดเพิ่มเติม

Please wait while flipbook is loading. For more related info, FAQs and issues please refer to DearFlip WordPress Flipbook Plugin Help documentation.